วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2558

Recent Post 3
Science Experiences Management for Early Childhood
Tuesday 18 August 2558
learning groups102 Time 13.30-17.30



knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
   พัฒนาการทางปัญญา Congnitive development ความหมายคือ ความเจริญงอกงามด้านความสามารถ ด้านภาษา การคิดเหตุผลแต่ละบุคคล 
    พัฒนาด้านสติปัญญาพัฒนาขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ Interaction กับสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่แรกเกิดให้เด็กรู้จักตน วิธี สัมผัสทั้ง 5 เครื่องมือ ตา บันทึก หู อัดเสียง จมูก ดม

สรุป
สติปํญญาจึงเกิดจากการปรับแนวคิดและพฤติกรรมจนเข้าสู่สภาวะสมดุล

skills (ทักษะที่ได้รับ)
    ทักษะการคิด
    ทักษะการ ถาม-ตอบ
    ทักษะการฟัง

Adoption (การนำไปใช้)
     นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน การนำไปเป็นแนวทางในด้านสติปัญญาต่อไป

Evaluation (การประเมิน)

Instructor Rating (ประเมินผู้สอน)  มีการใช้การถาม ตอบ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเพิ่มขึ้น
Rating friends (ประเมินเพื่อน)  ตั้งใจเรียนทุกคน แต่สถานที่ไม่เหมาะสมเพราะไม่มีโต๊ะสำหรับนั่งเรียน
Self-evaluation (ประเมินตนเอง)  เเข้าใจเนื้อหาในด้านสติปัญญามากขึ้น

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558


การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย สมคิด ศรไชย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ความมุ่งหมายของวิจัย
1.       เพื่อศึกษาระดับการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยโดยรวมและหลายด้านที่วัดก่อนหลังการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2.      เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ความสำคัญของการวิจัย
            ผลของการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการคิดเหตุผล รวมทั้งการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆของเด็กปฐมวัย

ประชากรที่ใช้วิจัย
            เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย เขตบางละมุง ชลบุรี

ระยะเวลาในการทดลอง
            ใช้เวลา สัปดาห์ สัปดาห์ละ วัน วันละ 20 นาที ช่วงเวลา 9.00 - 9.20 น. รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2556โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี
2.การคิดเชิงเหตุผล หมายถึง การรับรู้และเข้าใจของเด็กปฐมวัยที่ต้องอาศัยข้อมูล หลักการประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาข้อสรุปถึงสิ่งที่ไม่เคยได้รับรู้หรือยังไม่มีประสบการณ์มาก่อนซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการคิดเชิงเหตุผลตลอดจนการหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ โดยจำแนกออกเป็น ด้าน
2.1 ด้านการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถจำแนกประเภทแยกสิ่งของออกเป็นประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมถูกต้องโดยยึด โครงสร้าง หน้าที่ รูปร่าง ลักษณะ คุณสมบัติเฉพาะเป็นหลักในการเปรียบเทียบเพื่อจำแนกในการจัดกลุ่มนั้นๆ ซึ่งมีทั้งจำแนกประเภทเป็นภาษาและจำแนกประเภทเป็นตัวเลขและเป็นรูปภาพที่กำหนดให้
2.2 ด้านการจัดประเภท หมายถึง การจัดประเภท ที่เป็นแบบทดสอบที่ให้หาสิ่งที่เป็นพวกเดียวกันกับสิ่งที่กำหนดให้ที่นิยมใช้กันคือโจทย์จะกำหนดสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันนั้นมีทั้งแบบที่เป็นภาษาและภาพ
2.3 ด้านอนุกรม หมายถึง ความสามารถในการพิจารณาสิ่งต่างๆที่เป็นเหตุเป็นผลกันและให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้
3. การจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การจัดประสบการณ์เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเด็กได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารเพื่อให้เด็กได้ใช้ประสารทสัมผัสทั้ง เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุและเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของสิ่งต่างๆ จากการทดลองแล้วสรุปผลที่ได้ตามความเข้าใจของตนเองและใช้คำถามเชื่อมโยงให้เด็กเกิดการคิดเชิงเหตุผลด้านการจำแนก ด้านจัดประเภท ด้านอนุกรม ระหว่างการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นนำ เป็นการนำเข้าสู่กิจกรรมโดยเด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก และการสื่อสาร โดยให้เด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองแล้วให้เด็กคาดคะเนผลการทดลองร่วมกัน
ขั้นดำเนินกิจกรรม เป็นขั้นตอนที่เด็กร่วมกันวางแผนการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร แล้วลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองโดยเด็กหยิบจับสัมผัสเห็นจากเปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลอง
ขั้นสรุป เป็นขั้นที่เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร ว่าเป็นไปตามคาดคะเนไว้หรือไม่โดยให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นพร้อมอธิบายเหตุผลที่ได้จากผลการทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แบบทดสอบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย
2.แผนการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

สรุปผลการทดลอง
            จากผลการทดลองพบว่าเด็กปฐมวัยมีการคิดเชิงเหตุผลหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพราะรูปแบบการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองเด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์จำแนกบอกรายละเอียดความเหมือนความต่างของวัสดุอุปกรณ์ รูปแบบกิจกรรมเนื้อหาสอดคล้องกับวัยและวุฒิภาวะในการเรียนรู้ของเด็กเป็นประสบการณ์ตรงที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเคลื่อนไหวสำรวจ สังเกต สืบค้น และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ในขณะที่เด็กทำการทดลองจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งได้จากการสังเกตและประสบการณ์เดิมของเด็กเองแล้วเด็กร่วมกันสรุป

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2558

Recent Post 2
Science Experiences Management for Early Childhood
Tuesday 18 August 2558
learning groups102 Time 13.30-17.30

สรุปบทความ
        เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย “เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก” กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว
กรุงเทพฯ--9 มิ.ย.--สสวท.

          พ่อแม่สมัยใหม่ค่อนข้างมีความรู้และให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลานตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ระดับปฐมวัยคือการสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ “โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย” โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
              สสวท. ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ผ่านนิทาน” ในงานเปิดตัวกรอบมาตรฐานและคู่มือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ของ สสวท. เมื่อเร็วๆ นี้ ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท เพื่อเป็นตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนให้แก่ครูปฐมวัยที่สนใจ โดยมี ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย การส่งเสริมพัฒนาการและการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์พัชรดา รักยิ่ง ผู้ชำนาญสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย สสวท. เป็นวิทยากร

ในการอบรมครั้งนี้ ครูได้พบตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้ เด็กปฐมวัยจะได้เรียนรู้จักเชื่อมโยงจินตนาการจากนิทานสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้   นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้
              ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก แนะนำว่า ถ้าหากเป็นไปได้ ผู้เล่านิทานควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อวางแผนการสื่อสารกับเด็ก ๆ และจะหยิบยกประเด็นใดมาพูด นิทานบางเล่มที่ไม่มีคำบรรยาย มีแต่ภาพอย่างเดียว ภาพก็จะสื่อให้เข้าใจได้เช่นกัน
นิทาน..ต้องเล่าก่อนนอน จริงหรือ ?

“การเล่านิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส เป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้” แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน หลายครอบครัวจึงมักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง   เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป  เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่า มีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน การใช้เสียงต่าง ๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง นอกจากเสียงเล่าแล้ว ยังมีรูปแบบอื่นประกอบ เช่น หุ่นมือ หุ่นนิ้ว วาดไปเล่าไป ถ้ามีการใช้สื่อในบางโอกาส เด็กก็จะชอบ การนำของจริงที่เกี่ยวข้องกับนิทานมาให้เด็กดูประกอบการเล่านิทาน อาจทำให้เด็กอยากเกิดความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องที่เล่า ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงต่อยอดประสบการณ์ภายหลังได้ นิทานบางเรื่องถึงเด็กจะอ่านไปแล้ว แต่เด็กปฐมวัยอยู่ในวัยที่ชอบฟังซ้ำๆ ซึ่งก็เกิดการเรียนรู้ตามมา “เด็กคนไหนที่มีโอกาสฟังนิทานเยอะ ก็จะเปิดประสบการณ์ได้เยอะ นิทานเรื่องเดียวเล่าได้ซ้ำๆ และเปิดมุมมองในการเรียนรู้ได้หลายแง่มุม”นอกจากนั้น ข้อควรระวังในการเล่านิทาน ก็คือ “เวลาเล่านิทาน ถ้าเด็กมีความคิดใหม่ ๆ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกับสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือคาดหวัง ก็ไม่ควรปฏิเสธ เพราะจะปิดกั้นความคิด อาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจ คือ อย่าเพิ่งไปบอกเด็กว่าไม่ใช่ อาจจะเฉยๆ ไปก่อน หรือมีวิธีพูดอย่างอื่น” ไม่ควรหยุดเล่ากลางคัน เพื่อผละไปทำอย่างอื่นในขณะที่เด็กมีความสนใจในเรื่องที่เล่า จะทำให้ความใฝ่รู้ของเด็กตรงนั้นสะดุด
    ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก ฝากทิ้งท้ายว่า ในส่วนของคุณครูผู้สอนระดับปฐมวัยนั้น ปกติใช้นิทานในการเรียนการสอนอยู่แล้ว แต่อยากให้มองในการใช้นิทานเป็นสื่อในการพัฒนาเด็กหลายๆ ด้าน ไม่ใช่แต่เพียงด้านภาษาอย่างเดียว อยากให้สอดแทรกเรื่องอื่นเข้าไปด้วย ซึ่งครูสามารถใช้นิทานเป็นสื่อการเรียนการสอนได้เยอะแยะแตกแขนงมากมายหลายสาขาวิชา สามารถใช้นิทานเพื่อนำไปสู่การทำโครงงานเล็กๆ การทดลองเล็ก ๆ หรือการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ทำให้เกิดทักษะหลากหลาย

.....นิทานเรื่องเดียวที่เล่าไปก็จะไม่จบไปในแค่นั้น... แต่จะจุดประกายต่อยอดไปสู่การพัฒนาความคิดและทักษะอื่นๆ อีกมากมายได้

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2558

Recent Post 1
Science Experiences Management for Early Childhood
Tuesday 11 August 2558
learning groups102 Time 13.30-17.30

knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
    วันนี้ได้เรียนเป็นคาบแรก อาจารย์แนะนำรายวิชา ข้อตกลงต่างๆคะแนน

skills (ทักษะที่ได้รับ)
    ทักษะการคิด
    ทักษะการ ถาม-ตอบ

Adoption (การนำไปใช้)
     สามารถนำความรู้ ข้อตกลง ไปใช้ในการเรียนคาบต่อไป

Evaluation (การประเมิน)

Instructor Rating (ประเมินผู้สอน)  มีการใช้เทคนิคที่หลากหลาย เข้าใจในรายวิชามากขึ้น
Rating friends (ประเมินเพื่อน)   ให้ความร่วมมือ ในการเรียนการสอนทุกคน
Self-evaluation (ประเมินตนเอง)  เข้าใจรายวิชามากขึ้น