วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558


National Science and Technology Fair 2558





ห้องกิจกรรม เลเซอร์








การจัดนิทรรศการต่างๆ

นิทรรศการหลัก
ให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในสังคมโดยจัดแสดงและจัดกิจกรรม           เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันทั้งในปัจจุบันและอนาคต ประกอบด้วย




นิทรรศการปีดินสากล (International Year of Soils)  
จัดแสดงนิทรรศการที่ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับดิน โดยเน้นพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสที่สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าถวายรางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดิน เพื่อมนุษยธรรม”  และทางสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็น “วันดินโลก” รวมทั้งให้ปี 2558 เป็น “ปีดินสากล”





นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพ 

จัดแสดงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558 เช่น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช รวมทั้งนำเสนอความสำคัญของการอนุรักษ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศและของภูมิภาค เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม  





นิทรรศการปีสากลแห่งแสง (UNESCO International Year of Light) 

เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองปีสากลแห่งแสง ในแนวคิดแสงกับชีวิต (Light of Life) โดยสร้างนิทรรศการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติและความสำคัญของแสง และเน้นกิจกรรมที่ได้ทดลองและเรียนรู้สำหรับกลุ่มเยาวชน  รวมถึงนำเสนอการอธิบายปรากฏการณ์ของแสงในธรรมชาติรอบๆ ตัวเรา





นิทรรศการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก 
  

สร้างความตระหนักสู่กลุ่มเป้าหมายถึงวิกฤติการที่เกิดขึ้นจากผลของ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก” ในหลากหลายมุมมอง ผ่านชุดนิทรรศการที่เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ โดยนำเสนอผ่านทางโรงภาพยนตร์ ที่นำเสนอภาพของการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก เพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจ และเรียนรู้ไปอย่างกลมกลืน





นิทรรศการวัฏจักรของสายน้ำ   

จัดแสดงนิทรรศการเพื่อสร้างความตะหนักถึงความสำคัญของ “น้ำ” ผ่านนิทรรศการที่ร้อยเรียงการนำเสนอจากจุดกำเนิดของน้ำ รวมถึงวัฏจักรของน้ำ เพื่อให้ผู้ชมงานได้เข้าใจภาพเชิงมหภาคของทรัพยากรน้ำ ที่หล่อเลี้ยงระบบนิเวศและมนุษย์ และปลูกฝังจิตสำนึกการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า และการร่วมอนุรักษ์แหล่งน้ำ





นิทรรศการ Digital Economy 
 
สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ Digital Economy และประโยชน์ที่จะส่งผล กระทบถึงแต่ละภาคส่วนในสังคม ทั้งภาครัฐ ธุรกิจ และประชาชนทั่วไปและนำเสนอโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย เช่น E-Health E-Education ฯลฯ  เพื่อแสดงภาพอนาคตที่ชัดเจน และสร้างกิจกรรมให้ผู้ชมงานได้มีส่วนร่วมทดลอง ศึกษาเพื่อเป็นการปรับพื้นความเข้าใจ และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสำคัญของประเทศในครั้งนี้

http://hilight.kapook.com/img_cms2/varity/kala.jpg  http://www.cpw.ac.th/image/ToonThai/ctot02/005.jpghttp://www.seesketch.com/sketch_file/3/w4A2st7qM7mu7.jpg





นิทรรศการวิทยาศาสตร์ในของเล่นภูมิปัญญาพื้นบ้านแห่ง AEC  
จัดแสดง “ของเล่นพื้นบ้าน” ของไทย และอธิบายปรากฏการณ์ และการทำงานของของเล่นชนิดต่างๆ ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างความเข้าใจ ย้อนรอยแนวความคิดและการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษของเรา เน้นการเรียนรู้ผ่านการ “เล่น” เพื่อซึมซับ และเข้าใจความตั้งใจและมุ่งมั่นของคนรุ่นเก่าอย่างถ่องแท้ รวมถึงจัดมุมแสดงของเล่นภูมิปัญญาพื้นบ้าน ของประเทศ อื่นๆ ในกลุ่ม AEC






นิทรรศการช้างไทย  
นำเสนอความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ช้าง” สัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย ในมุมมองต่างๆ ทั้งเชิงวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสังคม ทั้งในอดีตจนถึงยุคปัจจุบัน รวมถึงการจัดแสดง ขนย้าย ติดตั้ง “ช้างสตัฟฟ์” ที่ผู้ว่าจ้างจัดหาให้ ให้สวยงามและเหมาะสมและเชื่อมโยงกับเนื้อหานิทรรศการ รวมถึงดูแลความเรียบร้อยแนะนำส่งคืนหลังจบนิทรรศการ
K:\01 NSTF2015\PICO proposal 2015\NST2015 Main Exh Design_14Sept2015\NST2015 Main Exh Design_14Sept2015\10 Food Science & TNM\3_View01.jpg





Food Science-Technomart   
สร้างความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการอาหาร ที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารในอนาคต โดยนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลิตผล ยืดอายุและแปรรูปอาหารได้อย่างคุ้มค่า และเกิดอรรถประโยชน์สูงสุด รวมถึงการเผยแพร่องค์ความรู้ ว/ท ที่จะนำมาพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจไทย  และนำเสนอผลงานของเอกชนและผู้ประกอบการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์สนับสนุนเทคโนโลยี โดยแบ่งกลุ่มการจัดแสดงเป็น

  • นิทรรศการเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอาหาร   
  • พื้นที่เพื่อแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อชุมชน 
  • พื้นที่เพื่อแสดงเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่ผลิตโดยคนไทย  
  • กิจกรรมการฝึกอบรมสาธิต เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสร้างอาชีพ โดยโครงการคลินิกเทคโนโลยีที่ส่งเสริมโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ





กิจกรรมสำหรับเยาวชน 

กิจกรรมเด็กและเยาวชนกลุ่มต่างๆ ที่จะได้รับประสบการณ์ตรงด้านวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติที่ดีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประกอบด้วย

  • ห้องทดลองปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
  • ลานกิจกรรมพัฒนาปัญญาเยาว์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน
  • ลานประกวดแข่งขันและแสดงผลงานโครงงาน-สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์
  • ห้องฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์
  • เวทีส่วนกลางพร้อมจัดกิจกรรมตลอดวันจัดงาน
http://onestop.most.go.th/mstq/static/graphics/logo_onestop.png

นิทรรศการจากหน่วยงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นิทรรศการและกิจกรรมแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
http://www.laneterralever.com/wp-content/uploads/2014/12/culture.jpg

นิทรรศการต่างประเทศ
นิทรรศการจากความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัญ เอกชน จากต่างประเทศ
นิทรรศการจากหน่วยงานอื่นๆ
นิทรรศการและกิจกรรมแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม 



วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2558

Recent Post 16
Science Experiences Management for Early Childhood
Tuesday 24 November 2558
learning groups 102 Time 13.30-17.30.


knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)


- เพื่อนๆ นำเสนองานวิจัย
    เลขที่ 15 เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
    เลขที่ 24 เรื่อง การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
- เพื่อน ๆ นำเสนอโทรทัศน์ครู

skills (ทักษะที่ได้รับ)    
    ทักษะการวิเคราะห์
    ทักษะการถาม-ตอบ
   
Adoption (การนำไปใช้)
    นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัย จากการที่ได้เรียนรู้งานวิจัยต่างๆ

Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) อธิบายถึงแผนงานวิจัยได้อย่างเข้าใจ
Rating friends (ประเมินเพื่อน) ตั้งใจฟังเพื่อนๆและครูทุกคน
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจในแผนการจัดการเรียนรู้ในงานวิจัยที่อาจารย์อธิบาย                                                    มากขึ้น        

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2558

Recent Post 15
Science Experiences Management for Early Childhood
Tuesday 17 November 2558
learning groups 102 Time 13.30-17.30.


knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

ทำกิจกรรม cooking บัวลอย บลูเบอรี่ชีสพาย ไอศครีม
กลุ่มของดิฉันได้ทำกิจกรรม การทำบัวลอย
วิธีขั้นตอนการทำขนมต่างๆ เเละขั้นตอนวิธีการสอน  ว่าจะสอนหรือจัดกิจกรรมบูรณาการอย่างไรให้เหมาะสมกับวิทยาศาสตร์เเละทำให้เด็กได้ความรู้ เเละพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ และประสบการณ์ที่ดี

แผนการสอน   กิจกรรม ขนมบัวลอย
วัตถุประสงค์
1.เด็กปั้นบัวลอยได้
2.เด็กแสดงชื่นชมผลงานของตนเองและผู้อื่นได้
3.เด็กบอกการเปลี่ยนแปลงของขนมบัลอยได้
สาระการเรียนรู้
1.วิธีการทำบัลอยและวัตถุดิบอุปกรณ์ในการทำ
2.การเปลี่ยนแปลงของแป้งขนมบัวลอย
3.มีสีขนาดรูปร่าง รูปทรงที่หลาหหลาย
ประสบการสำคัญ
1.ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการปั้นแป้ง
2.เด็กชื่นชมผลงานของตนเองและผู้อื่น
3.เด็ฏได้ทำงานร่วมกัน
4.เด็ฏอธิบายวิธีการทำขนมบัวลอยได้
กิจกรรม
-ขั้นนำ
-ขั้นสอน
-ขั้นสรุป
สื่อ/เเหล่งเรียนรู้
-วัตถุดิบเเละอุปกรณ์
1.แป้งข้าวเหนียว
2.น้ำ
3.สีผสมอาหาร
4.น้ำตาล
5.กะทิ
6.หม้อไฟฟ้า 2 หม้อ
7.ถ้วย
8.ช้อน


ภาพการจัดกิจกรรม Cooking




















skills (ทักษะที่ได้รับ)    ทักษะการวิเคราะห์
    ทักษะการสังเกต
    ทักษะการลงมือปฎิบัติ
    ทักษะการคิดวิเคราะห์

Adoption (การนำไปใช้)
    นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการการณ์ การจัดทำ Cooking ต่อเด็กต่อไป

Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) มีการให้คำปรีกษาในการปฎิบัติกิจกรรมตลอด
Rating friends (ประเมินเพื่อน) ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) ตั้งใจปฎิบัติกิจกรรมอย่างเข้าใจ

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2558

Recent Post 14
Science Experiences Management for Early Childhood
Tuesday 10 November  2558
Learning Goups 102 Time 13.30-17.30

knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
- ทำ cooking ข้าวทาโกยากิ และ ขนมวาฟเฟิล
- นำเสนอแผนการเรียนการสอน



ทำ cooking ข้าวทาโกยากิ และ ขนมวาฟเฟิล







skills (ทักษะที่ได้รับ)    
    ทักษะการคิดสร้างสรรค์
    ทักษะสังเกต
    ทักษะการวิเคราะห์

Adoption (การนำไปใช้)
    นำไปใชในการสอนทำ Cooking แก่เด็กปฐมวัยต่อไป

Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) มีการให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติด้วยตนเอง
Rating friends (ประเมินเพื่อน) ร่วมและตั้งใจในการทำกิจกรรมทุกคน
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจในวิธีการสอนทำ Cooking มากยิ่งขึ้น


วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน 2558

Recent Post 13
Science Experiences Management for Early Childhood
Tuesday 3 November  2558
Learning Goups 102 Time 13.30-17.30

knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
-  อาจารย์และนักศึกษาร่วมอภิปรายได้การสอน Cooking ในแต่ละกลุ่ม
    



การจัดเขียนแผนการสอนนั้นจะ ต้องประกอบไปด้วย
1.วัตถุประสงค์           ใช้คำกริยาที่สามารถบอกว่าเด็กที่ทำได้และเด็กสามารถสังเกตได้
2.สาระการเรียนรู้     จะต้องมี ประสบการณ์สำคัญ เพื่อสอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
                                  สามารถดูในหลักสูตรและสาระที่ควรรู้ คือ  เนื้อหาที่เด็กจะต้องศึกษาเรียน
3.กิจกรรมการเรียนรู้      บอกวิธีการสอน แบ่งเป็น 3 ขั้น ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป
4.สื่อ/แหล่งเรียนรู้           อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนแต่ละครั้ง
5.การวัดและประเมินผล ที่เราจะสังเกตเด็ก
6.การบูรณาการ              ให้สอดคล้องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
   

skills (ทักษะที่ได้รับ)    
    ทักษะการวิเคราะห์
    ทักษะการถาม-ตอบ
    ทักษะการสังเกต
Adoption (การนำไปใช้)
    นำไปใช้ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้อย่างถูกต้อง
Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) มีการให้นักศึกาาได้คิด และอภิปรายออกความเห็น
Rating friends (ประเมินเพื่อน) ร่วมการคิดกิจกรรมต่างๆ
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจในการเขียนแผนมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2558

Recent Post 12
Science Experiences Management for Early Childhood
Tuesday 27 October 2558
Learning Goups 102 Time 13.30-17.30

knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
-  ปฎิบัติกิจกรรมการนำเสนอเรื่อง
 
1.กิจกรรม    การทดลองเรื่องสี
 
  2.กิจกรรม   การเป่าเชือกโดยใช้ลม
 
  3.กิจกรรม     การทดลองแรงดันอากาศ จากกระดาษ

4.กิจกรรม การทดลอง แรงดันอากาศ จากน้ำ

5.กิจกรรม    การสะท้อนของวัตถุ กระจก

  6.กิจกรรม     แสงกับอากาศ
    
 

skills (ทักษะที่ได้รับ)    
    ทักษะการวิเคราะห์
    ทักษะการคิด
    ทักษะการสังเกต

Adoption (การนำไปใช้)
    นำกิจจมต่างๆ ไปใชในการสอน การปฎิบัติทางวิทยาศาสตร์ต่อไป

Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) มีการนำสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ มาให้นักศึกษาไดทดลอง
Rating friends (ประเมินเพื่อน) ร่วมมือปฎิบัติกิจกรรมอย่างตั้งใจ
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) มีความเข้าใจในกิจกรรรมการทดลองต่างๆ มากขึ้น

สาระที่ควรเรียนรู้

สาระที่ควรเรียนรู้


           สาระในส่วนนี้กำหนดเฉพาะหัวข้อไม่มีรายละเอียดทั้งนี้ เพื่อประสงค์จะให้ผู้สอนสามารถกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความต้องการ ความสนใจของเด็ก อาจยืดหยุ่นเนื้อหาได้โดยคำนึงถึงประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก ผู้สอนสามารถนำสาระที่ควรเรียนรู้มาบูรณาการ จัดประสบการณ์ต่างๆให้ง่ายต่อการ เรียนรู้ ทั้งนี้มิได้ประสงค์ให้เด็กท่องจำเนื้อหา แต่ต้องการให้เด็กเกิดแนวคิดหลังจากนำ สาระการเรียนรู้นั้นๆมาจัดประสบการณ์ให้เด็กเพื่อให้บรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ สาระที่ควรเรียนรู้ยังใช้เป็นแนวทางช่วยผู้สอนกำหนดรายละเอียดและความยากง่ายของเนื้อหาให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก สาระที่ควรเรียนรู้ประกอบด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก ดังนี้
      
              (1) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและ ทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดีทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเองแล้วเด็กควรจะเกิดแนวคิดดังนี้
                      -  ฉันมีชื่อตั้งแต่เกิด ฉันมีเสียง รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนใคร ฉันภูมิใจที่เป็น ตัวฉันเองเป็นคนไทยที่ดี มีมารยาท มีวินัย รู้จักแบ่งปัน ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น แต่งตัว แปรงฟัน รับประทานอาหาร ฯลฯ 
                      -ฉันมีอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา หู จมูก ปาก ขา มือ ผม นิ้วมือ นิ้วเท้า ฯลฯ และ ฉันรู้จักวิธีรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขภาพดี
                      - ฉันต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ออกกำลังกาย และพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต
                       - ฉันเรียนรู้ข้อตกลงต่าง ๆ รู้จักระมัดระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นเมื่อทำงาน เล่นคนเดียว และเล่นกับผู้อื่น
                      - ฉันอาจรู้สึกดีใจ เสียใจ โกรธ เหนื่อย หรืออื่น ๆ แต่ฉันเรียนรู้ที่จะแสดงความรู้สึกในทางที่ดี และเมื่อฉันแสดงความคิดเห็น หรือทำสิ่งต่าง ๆด้วยความคิดของตนเอง แสดงว่าฉันมีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดของฉันเป็นสิ่งสำคัญ แต่คนอื่นก็มีความคิดที่ดีเหมือนฉันเช่นกัน
         
               (2) เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด ดังนี
                        -ทุกคนในครอบครัวของฉันเป็นบุคคลสำคัญ ต้องการที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า และยารักษาโรค รวมทั้งต้องการความรัก ความเอื้ออาทร ช่วยดูแลซึ่งกันและกัน ช่วยกันทำงานและปฏิบัติตามข้อตกลงภายในครอบครัว ฉันต้องเคารพ เชื่อฟังพ่อแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกาลเทศะ ครอบครัวของฉันมีวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันเกิดของบุคคลในครอบครัว วันทำบุญบ้าน ฯลฯ ฉันภูมิใจในครอบครัวของฉัน
                      - สถานศึกษาของฉันมีชื่อเป็นสถานที่ที่เด็กๆมาทำกิจกรรมร่วมกันและทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย สถานศึกษาของฉันมีคนอยู่ร่วมกันหลายคน ทุกคนมีหน้าที่ รับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฏระเบียบ ช่วยกันรักษาความสะอาดและทรัพย์สมบัติของสถานศึกษา ส่วนครูรักฉันและเอาใจใส่ดูแลเด็กทุกคน เวลาทำกิจกรรมฉันและเพื่อนจะช่วยกันคิด ช่วยกันทำ รับฟังความคิดเห็น และรับรู้ความรู้สึกซึ่งกันและกัน
                     - ท้องถิ่นของฉันมีสถานที่ บุคคล แหล่งวิทยากร แหล่งเรียนรู้ต่างๆที่สำคัญ คนในท้องถิ่นที่ฉันอาศัยอยู่มีอาชีพที่หลากหลาย เช่น ครู แพทย์ ทหาร ตำรวจ ชาวนา ชาวสวน พ่อค้า แม่ค้า ฯลฯ ท้องถิ่นของฉันมีวันสำคัญของตนเอง ซึ่งจะมีการปฏิบัติกิจกรรมที่แตกต่างกันไป
                     - ฉันเป็นคนไทย มีวันสำคัญของชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ มี วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่าง ฉันและเพื่อนนับถือศาสนา หรือมีความเชื่อที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันได้ ศาสนาทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี ฉันภูมิใจที่ฉันเป็นคนไทย

               (3) ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ แนวคิดที่ควรให้เกิดหลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว มีดังนี้
                      -ธรรมชาติรอบตัวฉันมีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิตต้องการอากาศ แสงแดด น้ำและอาหารเพื่อเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับลักษณะอากาศ ฤดูกาล และยังต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สำหรับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น น้ำ หิน ดิน ทราย ฯลฯ มีรูปร่าง สี ประโยชน์ และโทษต่างกัน
                      -ลักษณะอากาศรอบตัวแต่ละวันอาจเหมือนหรือแตกต่างกันได้ บางครั้งฉันทายลักษณะอากาศได้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น เมฆ ท้องฟ้า ลม ฯลฯในเวลากลางวันเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ตก คนส่วนใหญ่จะตื่นและทำงาน ส่วนฉันไปโรงเรียนหรือเล่น เวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกจนดวงอาทิตย์ขึ้น ฉันและคนส่วนใหญ่จะนอนพักผ่อนตอนกลางคืน
                   - สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติรอบตัวฉัน เช่น ต้นไม้ สัตว์ น้ำ ดิน หิน ทราย อากาศ ฯลฯ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตต้องได้รับการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นรอบๆตัวฉัน เช่น บ้านอยู่อาศัย ถนนหนทาง สวนสาธารณะ สถานที่ต่าง ๆ ฯลฯ เป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทุกคนรวมทั้งฉันช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาสาธารณสมบัติโดย ไม่ทำลายและบำรุงรักษาให้ดีขึ้นได้
               (4) สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก ทั้งนี้เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด ดังนี้
                   - สิ่งต่างๆรอบตัวฉันส่วนใหญ่มีสี ยกเว้นกระจกใส พลาสติกใส น้ำบริสุทธิ์ อากาศบริสุทธิ์ ฉันเห็นสีต่างๆด้วยตา แสงสว่างช่วยให้ฉันมองเห็นสี สีมีอยู่ทุกหนทุกแห่งที่ฉันสามารถเห็น ตามดอกไม้ เสื้อผ้า อาหาร รถยนต์ และอื่น ๆ สีที่ฉันเห็นมีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน ฯลฯ สีแต่ละสีทำให้เกิดความรู้สึกต่างกัน สีบางสีสามารถใช้เป็นสัญญาณ หรือสัญลักษณ์สื่อสารกันได้
                   - สิ่งต่าง ๆ รอบตัวฉันมีชื่อ ลักษณะต่าง ๆ กัน สามารถแบ่งตามประเภท ชนิด ขนาด สี รูปร่าง พื้นผิว วัสดุ รูปเรขาคณิต ฯลฯ
                   - การนับสิ่งต่าง ๆ ทำให้ฉันรู้จำนวนสิ่งของ และจำนวนนับนั้นเพิ่มหรือลดได้ ฉันเปรียบเทียบสิ่งของต่างๆ ตามขนาด จำนวน น้ำหนัก และจัดเรียงลำดับสิ่งของต่าง ๆ ตามขนาด ตำแหน่ง ลักษณะที่ตั้งได้
                   - คนเราใช้ตัวเลขในชีวิตประจำวัน เช่น เงิน โทรศัพท์ บ้านเลขที่ ฯลฯ ฉันรวบรวมข้อมูลง่าย ๆ นำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยนำเสนอด้วยรูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง แผนที่ ฯลฯ
                  -สิ่งที่ช่วยฉันในการชั่ง ตวง วัด มีหลายอย่าง เช่น เครื่องชั่ง ไม้บรรทัด สายวัด ถ้วยตวง ช้อนตวง เชือก วัสดุ สิ่งของอื่น ๆ บางอย่างฉันอาจใช้การคาดคะเนหรือ กะประมาณ
                  - เครื่องมือเครื่องใช้มีหลายชนิดและหลายประเภท เช่น เครื่องใช้ในการทำสวน การก่อสร้าง เครื่องใช้ภายในบ้าน ฯลฯ คนเราใช้เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน แต่ขณะเดียวกันต้องระมัดระวังในเวลาใช้เพราะอาจเกิดอันตรายและเกิดความเสียหายได้ถ้าใช้ผิดวิธีหรือใช้ผิดประเภท เมื่อใช้แล้วควรทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
                 - ฉันเดินทางจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งได้ด้วยการเดินหรือใช้ยานพาหนะ พาหนะบางอย่างที่ฉันเห็นเคลื่อนที่ได้โดยการใช้เครื่องยนต์ ลม ไฟฟ้า หรือคนเป็นผู้ทำให้เคลื่อนที่ คนเราเดินทางหรือขนส่งได้ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ พาหนะที่ใช้เดินทาง เช่น รถยนต์ รถเมล์ รถไฟ เครื่องบิน เรือ ฯลฯ ผู้ขับขี่จะต้องได้รับใบอนุญาตขับขี่และทำตามกฎจราจรเพื่อความปลอดภัยของทุกคน และฉันต้องเดินบนทางเท้า ข้ามถนนตรงทางม้าลาย สะพานลอย หรือตรงที่มีสัญญาณไฟ เพื่อความปลอดภัยและต้องระมัดระวังเวลาข้าม
              ฉันติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆได้หลายวิธี เช่น โดยการไปมาหาสู่ โทรศัพท์ โทรเลข จดหมาย จดหมายอิเลคทรอนิคส์ ฯลฯ และฉันทราบข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ รอบตัวด้วยการสนทนา ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ และอ่านหนังสือ หนังสือเป็นสื่อในการ ถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกไปยังผู้อ่าน ถ้าฉันชอบอ่านหนังสือ ฉันก็จะมีความรู้ ความคิดมากขึ้น ฉันใช้ภาษาทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อการสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน