วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

โทรทัศน์ครู




สรุปวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจากโทรทัศน์ครู

 จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย  
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ "เสียงมาจากไหน"
             เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง พลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหู และส่งสัญญาณไปยังสมอง ทาให้เกิดได้ยินเสียง 
              แหล่งกำเนิดเสียงที่สั่นด้วยความถี่ต่ำจะทำให้เกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม แต่ถ้าแหล่งกำเนิดเสียง สั่นด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม มนุษย์จะได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20 – 20,000 เฮิรตซ์ เสียงดนตรีมีระดับเสียงสูงต่าแตกต่างกัน ถ้าเสียงความถี่หนึ่ง ๆ มาถึงหูมีพลังงานมากจะทาให้ได้ยินเสียงดังมากกว่า เสียงที่มีพลังงานน้อย 
เสียงเป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่เกิดจากการสั่นจากวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงโดยอาศัยตัวกลาง ซึ่งได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และอากาศ
        เกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูง หรือเสียงแหลม ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่า จะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์          ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมาก เสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อย จะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบล
คำถามที่ครูใช้ถามเด็ก
1.เสียงเกิดจากอะไร 
2.ตัวกลางเสียงได้แก่อะไรบ้าง 
3.เสียงสูงเสียงต่ำเกิดจากอะไร 
4.เสียงดังเสียงค่อยเกิดจากอะไร

1.ครูและนักเรียนแสดงการทดลองวิทยาศาสตร์ (science show )เรื่องเสียง.เช่นเสียงคลื่นจากเมล็ดถั่วเขียว. เสียงการสั่นของแม่เหล็ก..เสียงดนตรีจากกระป๋องน้าอัดลมเพื่อเร้าความสนใจให้กับนักเรียน จากนั้นให้นักเรียนตอบคาถามว่าเป็นเสียงอะไร ครูทดลองเสียงหลายๆแบบ จากนั้นครูเป่าแตรกระป๋องให้เกิดเสียง ให้นักเรียนซักถามแตรกรกระป๋องเกิดเสียงได้อย่างไร 
2.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียง ว่าถ้าไม่ได้ยินเสียงจะเกิดอะไรขึ้น โดยใช้คาถาม จากคาถามสร้างพลังความคิด และคาถามประจาหน่วยการเรียนรู้ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น 
3.ครูให้นักเรียนเอามือจับลาคอแล้วให้นักเรียนพูด เกิดอะไรขึ้นที่ลาคอ จากนั้นให้นักเรียน 1 คนออกมาทดลองหน้าห้องโดยโรยเกลือลงบนแผ่นพลาสติกที่มัดให้ตึงกับตะกร้าแล้วตะโกนลงบนแผ่นพลาสติกว่าเกิดอะไรขึ้นกับเม็ดเกลือ ( เม็ดเกลือสั่น ) แล้วเกิดเสียง หรือให้นักเรียนใช้มือถูกับขอบแก้วทรงสูง จะเกิดอะไรขึ้น 
4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียงเดินทางอย่างไร (เสียงผ่านตัวกลาง) เช่นครูพูดกับนักเรียน นักเรียนได้ยินเสียง เสียงเดินทางผ่านตัวกลางอะไร จากนั้นครูให้นักเรียน 2 คน ออกมาพูดโทรศัพท์กระป๋องโดยใช้สายโทรศัพท์เส้นเชือก เส้นเอ็น เส้นลวด แล้วฟังเสียง ที่เดินทางมายังหูได้ยินชัดหรือไม่ ครูซักถามว่าเสียงเดินทางอย่างไร ให้นักเรียนในห้องแสดงความคิดเห็น ( ถ้านักเรียนสนใจอยากทดลองนอกห้องก็ให้ทดลองนอกห้องเรียน) 
5.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มดีดสายยางรัดของที่ตึงกับตะปู เคาะส้อมเสียงแล้วฟังเสียง เกิดเสียงอย่างไร การเคาะขวดที่มีน้า และเคาะขวดที่ไม่มีน้า ครูอธิบายเพิ่มเติมการสั่นเร็วสั่นสั่นช้าของวัตถุ ว่าเกิดเสียงอย่างไร ( เกิดเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย ) 
6.ให้นักเรียนสร้างสรรค์เสียงจากกระป๋อง โดยครูอธิบายวิธีการทำแตรกระป๋อง จากนั้นให้นักเรียนทุกกลุ่มสร้างแตรกระป๋องที่นักเรียนเตรียมมา เมื่อทำแตรกระป๋องเสร็จให้ออกมาเป่าเป็นเสียงต่างๆ ให้เพื่อนจินตนาการและทายว่าเป็นเสียงอะไร ครูส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยให้ตัวแทนนักเรียนออกมาเป่าแตรกระป๋องเป็นเสียงดนตรี 
7.ครูซักถามนักเรียนประโยชน์ที่ได้จากการนำกระป๋องมาทำเป็นเสียงดนตรี ว่าให้ประโยชน์อย่างไร แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดการออกแบบโครงงานการทำโทรศัพท์กระป๋อง 
8.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับเรื่องเสียง การเกิดเสียง ตัวกลางเสียง และเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย จากนั้นให้นักเรียนไปทำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เกิดเสียง แล้วส่งในชั่วโมงต่อไป
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1.คำถามชวนคิด 2.ขวดถั่วเขียว 3.เกลือ 4 .ยางรัดของ 5.ตะปู 6.ส้อมเสียง 7.ขวดใส่น้า 
8.แก้วทรงสูง 9. อุปกรณ์การทาแตรกระป๋อง 10.โทรศัพท์กระป๋อง 11.แบบฝึกหัด 

วันอังคารที่ 22 กันยายน 2558

Recent Post 7
Science Experiences Management for Early Childhood
Tuesday 22 September 2558

learning groups 102 Time 13.30-17.30.

knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
- นำเสนอกิจกรรม
   วิทยาศาสตร์ต่างๆ
การเรียนรู้ คือ พฤติกรรม
วิธีการเรียนรู้ จัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการ
ความสามารถ คือ การทำงานของสมอง

skills (ทักษะที่ได้รับ)    ทักษะการวิเคราะห์
    ทักษะการถาม-ตอบ
    ทักษะการคิด
Adoption (การนำไปใช้)
    นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชา วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่อไป
Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) มีการใช้การถาม ตอบ ทำให้นักศึกษาได้คิด
Rating friends (ประเมินเพื่อน) ตั้งใจทำกิจกรรม
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น

วันอังคารที่ 15 กันยายน 2558

Recent Post 6
Science Experiences Management for Early Childhood
Tuesday 15 September 2558
learning groups 102 Time 13.30-17.30.


knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)


การทำงานของสมอง

- ทฤษฎีการเรียนรู้ จอร์น เพียเจต์
จอห์น เพียเจต์ (พ.ศ. 2439 – 2523) Jean Piaget (ค.ศ.1896 – 1980) ผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญา   ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการเชาวน์ปัญญาที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์สำหรับครู คือ ทฤษฎีของนัก
เพียเจต์ ( Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการ
ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.1ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี
1.2) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก           2 ขั้น คือ
    1. ขั้นก่อนเกิดสังกัป เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี
    2. ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี
1.3) ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
1.4) ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี

การเรียนรู้อย่างมีความสุข 
1.การเรียนรู้จากการปฎิบัติจริง
2.การเรียนรู้แบบองค์รมที่ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน

skills (ทักษะที่ได้รับ)
   ทักษะการคิด
   ทักษะการ ถาม-ตอบ

Adoption (การนำไปใช้)
    นำไปศึกษาต่อและเกิดความรู้ที่แปลกใหม่

Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) มีการใช้การถาม ตอบ อธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ
Rating friends (ประเมินเพื่อน)ตั้งใจในการเรียนการสอน
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 8 กันยายน 2558

Recent Post 5
Science Experiences Management for Early Childhood
Tuesday 8 September 2558
learning groups 102 Time 13.30-17.30.

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้  เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก
ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
 - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน
ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล
ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้

กิจกรรม(Activity)
- กิจกรรมพับกระดาษ โดยฝึกการเชื่อมโยงในด้านวิทยาศาสตร์อย่างมีเหตุผล

skills (ทักษะที่ได้รับ)
ทักษะการคิด
ทักษะการ ถาม-ตอบ
ทักษะการแก้ปัญหา
ทักษะการคิดวิเคราะห์

Adoption (การนำไปใช้)
สามารถนำความรู้ ไปใช้ในการสอน การพัฒนาตัวเองต่อไป

Evaluation (การประเมิน)

Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) มีการใช้เทคนิคที่หลากหลายเข้าใจกิจรรมเพิ่มขึ้น
Rating friends (ประเมินเพื่อน) ให้ความร่วมมือ ในการเรียนการสอนทุกคน
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจเนื้อหาเพิ่มขึ้น

วันอังคารที่ 1 กันยายน 2558

Recent Post 4
Science Experiences Management for Early Childhood
Tuesday 1 September 2558
learning groups102 Time 08.30-16.00.



Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

วันนี้ได้เข้าอบรม "ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21"

ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
     องค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นเพื่อในการเรียนรู้ของนักเรียนทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานศตวรรษที่ 21 การประเมินผลหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาอาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับระบบสนับสนุนการผลิตที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนในปัจจุบัน
มาตรฐานศตวรรษที่ 21- มุ่งเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาและความเชี่ยวชาญ
- สร้างความเข้าใจระหว่างวิชาหลัก เช่นเดียวกับรูปแบบสหวิทยาการศตวรรษที่ 21
- เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน
- การของมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริงและพวกเขาจะพบผู้
เชียวชาญในวิทยาลัยหรือในที่ทำงานและ ชีวิตนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานอย่างแข็งขัน การแก้ปัญหาที่มีความหมาย
- การมีมาตรการหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้
หลักสูตร และการสอนในศตวรรษที่ 21
- สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่ 21
- มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้
- ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน และทักษะการคิดขั้นสูง
- สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
การพัฒนามืออาชีพในศตวรรษที่ 21
- ครูมีแนวทางการสอนมีความสามารถสำหรับการบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือและกลยุทธ์การเรียนการสอนไปสู่​​การปฏิบัติในชั้นเรียนของพวกเขา
- การเรียนการสอนมที่มุ่งเน้นการทำโครงงาน
- แสดงให้เห็นว่ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจริงสามารถเพิ่มการแก้ปัญหาการคิดเชิงวิพากษ์และอื่น ๆ ทักษะในศตวรรษที่ 21
- ช่วยให้มืออาชีพในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับครูที่ 21 ว่ารูปแบบชนิดของการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ดีที่สุดส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน
- การพัฒนา ความสามารถในการระบุตัวตนของนักเรียนโดยครูมีรูปแบบการเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียน
- ช่วยให้ครูพัฒนาความสามารถในการใช้กลยุทธ์ต่างๆ (เช่นการประเมินผลการเรียนการสอน) ถึงนักเรียนที่มีความหลากหลายและสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนความแตกต่างการเรียนการสอนและการเรียนรู้
- รองรับการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของการพัฒนาทักษะของนักเรียนศตวรรษที่ 21
- ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนของผู้ปฏิบัติงานโดยการหันหน้าเข้าหากันการสื่อสารเสมือนและผสม
- ใช้รูปแบบความเป็นอันหนึ่งหันเดียวกันและความยั่งยืนของการพัฒนาวิชาชีพ
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21- สร้างการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่สนับสนุนความต้องการของมนุษย์และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยทักษะในศตวรรษที่ 21
- สนับสนุนการเรียนรู้ชุมชนมืออาชีพที่ช่วยให้การศึกษาเพื่อการทำงานร่วมกันแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการปฏิบัติในชั้นเรียน
- ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในงานที่เกี่ยวข้องในโลกศตวรรษที่ 21 แวดล้อมจริง (เช่น ปฏิบัติจริงหรือผ่านการทำงานที่ใช้ตามโครงการหรืออื่น ๆ )
- เรียนรู้การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ รู้จักการทำงานสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มทีมและรายบุคคล
- สนับสนุนการติดต่อกับชุมชนและการมีส่วนระหว่างต่างชาติในการเรียนรู้โดยตรงและออนไลน์
การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในศตวรรษที่ 21 อาศัยการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายที่ชัดเจน ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้และทักษะเพื่อให้สามารถการใช้ชีวิต การทำงาน ดำรงชีพอยู่ได้กับภาวะเศรษฐกิจในสังคมโลกปัจจุบัน

กิจกรรม(Activity)

- ซุ้มปฐมวัยได้กิจกรรมต่างๆ 
- ได้มีการแสดงรำ
skills (ทักษะที่ได้รับ)
ทักษะการคิด
ทักษะการฟัง

Adoption (การนำไปใช้)
นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) ให้ความรู้ในนิทรรศการ
Rating friends (ประเมินเพื่อน)ตั้งใจรับฟังบรรยายทุกคน
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้น